วันอาทิตย์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 14

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                
                                กลุ่มเรียนที่ 104 (วันจันทร์บ่าย)  

                                เวลา 12.20 - 15:00 น.

ความรู้ที่ได้รับ..

 โปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education Program)
             แผน IEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-ด้วยการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
      *การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-เด็กสามารถทำอะไรได้  / เด็กไม่สามารถทำอะไรได้
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP
     *IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
-ระบุวัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
-วิธีการประเมินผล
ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
-เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
-ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
-ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
-เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการติดต่อสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดระหว่างบ้านกับโรงเรียน
   *ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
-จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง
  * การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-กำหนดให้ชัดเจน แม้จะกว้าง
-น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
-น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
-น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้
-ระยะสั้น
-ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
-เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์
-จะสอนใคร
-พฤติกรรมอะไร
-เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
-พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน
3. การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
-นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
-จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถ โดยคำนึงถึง
-ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
-ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
-อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก
4. การประเมินผล
-โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

       เมื่ออาจารย์ได้อธิบายเสร็จ อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่มกลุ่มละ 4-5 คน เพื่อเขียนแผน IEP



เมื่อทุกกลุ่มเขียนแผนของตนเองเสร็จแล้ว ก็ได้สอบร้องเพลงที่อาจารย์เบียร์เคนสอนมา ดิฉันจับได้เพลง จำจี้ดอกไม้ 

จำจี้ดอกไม้ ดาวเรือง หงอนไก่
จำปี  จำปา มะลิ  พิกุล
กุหลาบ ชบา บานชื่น กระดังงา
เข็ม  แก้ว  ลัดดา เฟื้องฟ้า ราตรี


เมื่อกิจกรรมหมดลง อาจารย์ก็ได้พูดถึงความรู้สึกที่มีต่อกลุ่มเรียนนี้ แล้วความรู้สึกที่มีต่อนักศึกษาปีที่ 3 
หนูก็อยากจะบอกความรู้สึกที่ได้เรียนกับอาจารย์เบียร์และความรู้สึกที่ดีๆที่มีต่ออาจารย์เบียร์
' หนูรู้สึกมีความสุขทุกครั้งที่ได้เรียนกับอาจารย์เบียร์ วิชาที่เรียนกับอาจารย์เป็นวิชาที่หนู่ไม่ขี้เกรียจที่จะมาเรียนเพราะหนูรู้สึกว่า ถ้าขาดไปหนูคงขาดประสบการณ์จากคาบนั้น หนูรู้สึกกับอาจารย์เบียร์เหมือนที่ปรึกษาในทุกๆเรื่อง อาจารย์คอยให้กำลัง คอยแนะนำทุกๆอย่างให้กับนักศึกษา เป็นคำแนะนำที่นำมาใช้ได้จริง '


พวกเรา 'รัก' อาจารย์เบียร์นะค่ะ




วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                
                                กลุ่มเรียนที่ 104 (วันจันทร์บ่าย)  

                                เวลา 12.20 - 15:00 น.

                                           ก่อนเข้าสู่บทเรียนอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม "ดิ่งพสุธา"


จากนั้นอาจารย์ก็ได้เข้าสู่บทเรียน

   เนื้อหาที่ได้เรียนวันนี้

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
     ทักษะพื้นฐานทางการเรียน

เป้าหมาย
-การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึกว่า “ฉันทำได้
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
-ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
-จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร

การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่

การรับรู้ การเคลื่อนไหว
ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น ตอบสนองอย่างเหมาะสม

การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
-การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-ต่อบล็อก
-ศิลปะ
-มุมบ้าน
-ช่วยเหลือตนเอง


ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
-ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก

ความจำ
-จากการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-จำตัวละครในนิทาน
-จำชื่อครู เพื่อน
-เล่นเกมทายของที่หายไป

ทักษะคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์
การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
-บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
-รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
-มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
-เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
-พูดในทางที่ดี
-จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
-ทำบทเรียนให้สนุก

วันศุกร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                
                                กลุ่มเรียนที่ 104 (วันจันทร์บ่าย)  

                                เวลา 12.20 - 15:00 น.





..สัปดาห์นี้ในคาบเรียนวิชาศิลปะ.. 

วันศุกร์ที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                
                                กลุ่มเรียนที่ 104 (วันจันทร์บ่าย)  

                                เวลา 12.20 - 15:00 น.





สัปดาห์นี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ได้ให้สอบเก็บคะแนน

วันเสาร์ที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 10


บันทึกอนุทิน

                                วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                
                                กลุ่มเรียนที่ 104 (วันจันทร์บ่าย)  

                                เวลา 12.20 - 15:00 น.

ความรู้ที่ได้รับ

                    การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

-เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
-การกินอยู่ 
-การเข้าห้องน้ำ 
-การแต่งตัว 
-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน

#การสร้างความอิสระ
 -เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
#ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
#หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
-“ หนูทำช้า ” “ หนูยังทำไม่ได้ ”
#จะช่วยเมื่อไหร่
-เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
-หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
-เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
-มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
#ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน
EX. การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
#การวางแผนทีละขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด
#สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล
-ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
-เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ


                             หลังจากจบเนื้อหาที่เรียน อาจารย์ได้ให้นักศึกษาวงกลมหลายวงหลากสี

เมื่อทุกคนทำวงกลมของตัวเองเสร็จเรียบร้อยอาจารย์ก็ได้ติดรูปลำต้นของต้นไม้ไว้ที่กระดาน


เมื่อติดลำต้นเสร็จแล้ว อาจารย์ได้ให้นักศึกษานำวงกลมของตนเองออกไปติดที่ลำต้นจะติดตรงไหนก็ได้ แต่มีข้อแม้คือต้องห้ามทับกันและออกไปติดทีละ 1 คน


^และนี่คือ ต้นไม้ของกลุ่มพวกเรา^


วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

ครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน

                                วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
                                
                                อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิน
                                
                                กลุ่มเรียนที่ 104 (วันจันทร์บ่าย)  

                                เวลา 12.20 - 15:00 น.


ความรู้ที่ได้รับ


ก่อนเข้าสู่บทเรียน อาจารย์ได้พาไปเที่ยวทุ่งหญ้าซาวันน่า 



จากรูปนี้ อาจารย์ได้ถามว่า 'เมื่อเห็นรูปนี้แล้วรู้สึกยังไง'
และดิฉันก็เขียนไปว่า  รู้สึกกลัว

จากนั้นอาจารย์ได้เปิดวิดีโอ  โทรทัศน์ครู และเริ่มเข้าสู่บทเรียน

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

 >>ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา

                    เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
                    ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
                    ถามหาสิ่งต่างๆไหม
                    บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
                    ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด

                    การพูดตกหล่น
                    การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
                    ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่

                    ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
                    ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ   ตามสบาย   คิดก่อนพูด
                    อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
                    อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
                    ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
                    เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา

                    ทักษะการรับรู้ภาษา
                    การแสดงออกทางภาษา
                    การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย

                    การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
                    ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
                    ให้เวลาเด็กได้พูด
                    คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
                    เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
                    เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว

การสอนตามเหตุการณ์(Incidental Teaching)


หลังจากจบเนื้อหาอาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรม จับคู่ 2 คน